เกี่ยวกับธนกฤตเข็มเจาะ

เกี่ยวกับธนกฤตเข็มเจาะ

TanakritKemjoh Limited Partnership

หจก. ธนกฤตเข็มเจาะ เสาเข็มเจาะ รับเจาะเสาเข็ม เสาเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process of Tripod Rid Bored Pile) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35-40-50-60 เซนติเมตร รับทำเสาเข็มเจาะทั่วประเทศ บริการเจาะเสาเข็ม รับเจาะเข็ม ทำเข็มเจาะ เจาะเข็ม ราคาเสาเข็มเจาะ จำหน่ายเสาเข็ม เข็มเจาะ เข็มเจาะแห้ง รับทำเสาเข็มเจาะ เจาะเสาเข็ม เสาเข็มเจาะ งานเสาเข็มเจาะ ควบคุมดูแลโดยช่างวิศวกรผู้ชำนาญงาน เสาเข็มเจาะระบบแห้งเป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็กที่มีแรงสั่นสะเทือนต่ำ ไม่กระทบต่ออาคารใกล้เคียง อีกทั้งยังสะดวกต่อการขนย้ายและยังสามารถทำงานได้ในพื้นที่แคบๆ การปลูกสร้างอาคารต่างๆสิ่งสำคัญที่สุดคือฐานราก ซึ่งถ้าไม่สามารถรับน้ำหนักของอาคารได้แล้ว ยังทำให้อาคารทรุดหรือแตกร้าวได้ซึ่งยากต่อการแก้ไข และสามารถทำความเดือดร้อนให้ข้างบ้านเรือนเคียงอีกด้วย นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ มากมาย หจก. ธนกฤตเข็มเจาะ เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเข็มเจาะขนาดเล็กโดยตรง ครบครันด้วย วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐาน และทีมงานที่เป็นวิศวะกร ผู้ควบคุมงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ให้บริการเสาเข็มเจาะขนาดเล็กแบบสามขา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35-40-50-60 เซนติเมตร รับน้ำหนักปลอดภัยได้ตั้งแต่ 25-80 ตัน หรือมากกว่านั้น เหมาะสำหรับก่อสร้างอาคารทุกประเภท ตั้งแต่อาคารบ้านพักอาศัยขนาดเล็ก อพาร์ทเมนท์ โกดังสินค้า หรือ โรงงานอุตสาหกรรม

มาพร้อมกับบริการรับตอกเสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครสปัน งานดีมีคุณภาพ เพื่องานก่อสร้างต่อเติม งานดัดแปลงโครงสร้าง งานต่อเติมอาคาร ต่อเติมบ้าน ต่อเติมอพาร์ทเม้นต์ ต่อเติมโกดังสินค้า ต่อเติมโรงงานอุตสาหกรรม หรือจะเป็นการปรับปรุงซ่อมแซม โดยใช้ปั้นจั้นแบบพิเศษ สำหรับตอกเสาเข็มไมโครไพล์โดยเฉพาะ งานเสาเข็มเจาะท่อ โดยทีมงานผู้ชำนาญทางเป็นพิเศษ มีประสบการณ์ที่ยาวนาน พร้อมมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สามารถเข้าทำงานได้ทุกสภาพพื้นที่ แม้ในพื้นที่จำกัด ให้บริการทั่วประเทศไทย

เสาเข็มไมโครสปัน คุณภาพสูง ควบคุมการผลิตและการผสมคอนกรีตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี สามารถตอบสนองกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานของท่านได้อย่างมีปรเสิทธิภาพ เสาเข็มไมโครไพล์หรือเสาเข็มไมโครสปัน เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง งานต่อเติม หรือปรับโครงสร้าง เราให้ความสำคัญทั้งในด้านความปลอดภัย ด้านคุณภาพ เรามีทีมงานที่มีประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาแก่ท่าน เพื่อการเลือกเสาเข็มให้เหมาะสมกับงานของท่าน

ลักษณะงานที่ต้องใช้เสาเข็มเจาะ
- งานฐานรากที่ต้องระวังเกียวกับการสั่นสะเทือนต่ออาคารข้างเคียง
- งานฐานรากแก้ไขอาคารที่อาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างเดิม
- งานฐานรากบริเวณที่คับแคบหรือใต้อาคาร
- งานฐานรากที่ต่อเติมขึ้นใหม่จากอาคารเดิม [...]


เสาเข็มไมโครไพล์ (micro pile) เป็นเสาเข็มแบบกลม และเสาเข็มแบบสี่เหลี่ยม ตรงกลางกลวง มีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ สามารถรองรับน้ำหนักปลอดภัยได้ถึง 50 - 55 ตันต่อต้น มีความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 6 - 8 เซนติเมตร เหมาะกับงานซ่อมแซม งานต่อเติม ปรับรากฐานที่ไม่แข็งแรง ที่เกิดการทรุดตัว และ เนื่องจากเสามีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอกได้ดี สามารถช่วยลดความกระทบกระเทือนต่ออาคารหรือสถานที่ข้างเคียงได้เป็นอย่างมาก ด้วยจุดเด่นของเสาเข็มไมโครไพล์ จึงทำให้เสาเข็มไมโครไพล์ได้รับความนิยม

หากท่านกำลังมองหา เสาเข็มไมโครไฟล์ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ สำหรับต่อเติมอาคาร หรือเพื่องานก่อสร้าง สามารถปรึกษา ติดต่อสอบถามเราได้ รับรองคุณภาพสินค้าและราคา ที่คุ้มค่า คุณภาพสูง ได้มาตรฐาน ตรงต่อความต้องการของคุณอย่างแน่นอน

ลักษณะงานที่ต้องใช้เสาเข็มไมโครไพล์

- เสาเข็มเพื่อการต่อเติมโรงงาน บ้านพักที่อยู่อาศัย โรงแรม อาคารจอดรถ อาคารพาณิชย์
- เสาเข็มเพื่อการปรับปรุงฐานรากเพื่อความแข็งแรง
- เสาเข็มช่วยแก้ไขปัญหาอาคารทรุดตัว
- เสาเข็มเพื่อสร้างฐานโรงงานใหม่ เพื่อความมั่นคง และแข็งแรง เพื่อรองรับน้ำหนักเครื่องจักร
- เสาเข็มที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง
- เสาเข็มไมโครไพล์ รับน้ำหนักได้เหมือนเสาเข็มปกติ
- เสาเข็มไมโครไพล์สามารถทำงานในพื้นที่จำกัด
- เสาเข็มไมโครไพล์รับแรงสั่นสะเทือนน้อยไม่ทำให้โครงสร้างเสียหาย
- การทรุดตัวน้อย หรือทรุดตัวเท่ากับตัวบ้านเดิม
- เมื่อใช้เสาเข็มไมโครไพล์ พื้นที่หน้างานสะอาด ไม่สกปรก.

 

Spun Micro Pile  ที่มาของคำว่า "สปัน"ไมโครไพล์

สปัน = spun = กรอ, หมุน, ปั่น ใช้นวัตกรรมใหม่ในการ ผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ โดยใช้แรงเหวี่ยง (สปัน) ในแบบหล่อที่แข็งแรง ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย เทคโนโลยีจากประเทศเยอรมัน ซึ่งหมุน(สปัน) ด้วยความเร็วสูง จากคอนกรีตเหลวๆ ที่ใส่ไปในแบบ ภายใน 10 นาที จะได้เสาเข็มออกมาเป็นท่อน ผิวคอนกรีตขัดมันสวยงาม และแข็งแกร่ง

Spun Micro Pile เป็นเสาเข็มสำหรับติดตั้ง ต่อเติมอาคาร บ้านเรือนต่างๆ ติดตั้งเครื่องจักรภายในอาคารโรงงาน การขยายต่อเติมอาคารในส่วนพื้นที่จำกัด ให้เป็นไปตามที่คุณต้องการ หากคุณเลือกใช้งานสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มอก. มีการรับประกันความปลอดภัยจากการใช้งาน ไม่ว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน โครงสร้างตึก, อาคาร, บ้านเรือน จะยังคงอยู่ไม่ถล่ม ยังคงรับน้ำหนักได้ดี ปลอดภัย เพราะเราเลือกใช้ เสาเข็มเพื่อการต่อเติม Spun Micro Pile ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสำหรับการต่อเติมบ้าน ปรับปรุงโรงงาน ทำแท่นรับเครื่องจักร แก้ไขปัญหาอาคารทรุด

เสาเข็มเพื่อการต่อเติม Micropile ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ SpunMicroPile

 

คุณลักษณะเด่นของเสาเข็มสปันไมโครไพล์

  • สามารถทำงานในที่แคบได้เพราะเราใช้ปั้นจั่นที่มีการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อใช้สำหรับเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (เสาเข็มเพื่อการต่อเติม)โดยความสูงของปั้นจั่นมีลักษณะสูงไม่เกิน 3 เมตร เหมาะกับการต่อเติมบ้าน, แก้ไขปัญหาอาคารทรุด, ปรับปรุงโรงงาน
  • ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง สะดวก สะอาด ไม่มีดินโคลน แข็งแรงและทนทาน
  • สามารถตอกได้ลึกตามความเป็นจริง ตั้งแต่ 1 เมตร จนถึงชั้นดินดาล
  • มั่นใจในคุณภาพการรับน้ำหนัก สามารถรับน้ำหนักตามที่วิศวกรออกแบบไว้ โดยสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 20-40 Ton/Pile
  • สามารถตอกชิดกำแพง ผนังบ้านได้ เป็นเสาเข็มตอกที่ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมแตกร้าว ไม่มีปัญหากับเพื่อนบ้าน
  • ไม่สั่นสะเทือนขณะติดตั้ง เนื่องจากอาคารส่วนใหญ่ที่ต้องเสริมเสาเข็มนั้น มักจะมีปัญหาความบกพร่องของฐานรากอยู่ก่อนแล้ว จึงไม่ควรให้มีแรงสั่นสะเทือน อันจะเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อฐานราก หรือโครงสร้างอาคารมากขึ้น
  • รับน้ำหนักได้ทันที เป็นเสาเข็มชนิดที่เมื่อติดตั้งแล้วเสร็จ สามารถรับน้ำหนักได้ทันที เหมาะกับอาคารที่มีการทรุดตัวค่อนข้างมาก หรืออาคารที่ต้องชดเชยความแข็งแรงอย่างรวดเร็ว

สาเข็มไมโครไพล์ (micro pile) เป็นเสาเข็มแบบกลม และเสาเข็มแบบสี่เหลี่ยม ตรงกลางกลวง มีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ สามารถรองรับน้ำหนักปลอดภัยได้ถึง 50 - 55 ตันต่อต้น มีความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 6 - 8 เซนติเมตร เหมาะกับงานซ่อมแซม งานต่อเติม ปรับรากฐานที่ไม่แข็งแรง ที่เกิดการทรุดตัว และ เนื่องจากเสามีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอกได้ดี สามารถช่วยลดความกระทบกระเทือนต่ออาคารหรือสถานที่ข้างเคียงได้เป็นอย่างมาก ด้วยจุดเด่นของเสาเข็มไมโครไพล์ จึงทำให้เสาเข็มไมโครไพล์ได้รับความนิยม

 

หากท่านกำลังมองหา เสาเข็มไมโครไฟล์ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ สำหรับต่อเติมอาคาร หรือเพื่องานก่อสร้าง สามารถปรึกษา ติดต่อสอบถามเราได้ รับรองคุณภาพสินค้าและราคา ที่คุ้มค่า คุณภาพสูง ได้มาตรฐาน ตรงต่อความต้องการของคุณอย่างแน่นอน

จุดเด่นของเสาเข็มไมโครสปันไพล์

  • - เสาเข็มไมโครสปันไพล์ เป็นเสาเข็มเพื่อการต่อเติม มีการออกแบบเพื่อรองรับน้ำหนักที่มากได้ จึงเหมาะสำหรับการต่อเติมบ้าน ต่อเติมอาคาร ต่อเติมอพาร์ทเมนต์ ต่อเติมโกดังสินค้า ต่อเติมโรงงาน ฯลฯ
  • - เสาเข็มไมโครสปันไพล์ สามารถตอกเสาเข็มได้ลึกตามความเป็นจริง แข็งแรงและทนทาน
  • - เสาเข็มไมโครสปันไพล์ ยังช่วยแก้ไขปัญหาโครงสร้างทรุดตัว ปรับรากฐานที่ไม่แข็งแรง ให้มีความมั่นคงแข็งแรงสูง จึงเหมาะกับงานที่ต้องรับน้ำหนักมาก
  • - เสาเข็มไมโครสปันไพล์ สามารถตอกชิดกำแผง ผนังบ้าน สามารถทำงานได้ในพื้นที่จำกัด
  • - ระหว่างการตอกเสาเข็ม เนื่องจากเสามีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอกได้ดี
  • - สามารถช่วยลดความกระทบกระเทือนต่ออาคารหรือสถานที่ข้างเคียงได้เป็นอย่างมาก และ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง
  • - เสาเข็มไมโครสปันไพล์ สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 50 - 55 ตันต่อต้น
  • - เสาเข็มไมโครสปันไพล์ เป็นเสาเข็มเจาะ ที่มีความสามารถสูง แข็งแรง ทนทาน ขนย้ายสะดวก ใช้กับงานก่อสร้างต่อเติม ได้หลากหลายลักษณะงาน

 

เสาเข็มไมโครไพล์


เป็นเสาเข็มที่รับน้ำหนักได้มาก แข็งแรงทนทาน เหมาะกับงานก่อสร้างหลากหลาย เช่น งานสร้างบ้าน ต่อเติมอาคาร สร้างโรงงาน สร้างตึก ต่อเติมบ้าน

 

เสาเข็มเจาะ


เสาเข็มเจาะ เป็นเสาเข็ม ที่ต้องทำในสถานที่ ที่จะใช้งานจริง โดยใช้เครื่องมือเจาะดินลงไปให้ได้ขนาดตามที่กำหนด แล้วใส่เหล็กเสริม เทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม

เสาเข็มรูปตัวไอ


เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงอีกแบบหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รูปทรงเสาเข็ม คล้ายตัวไอ ใช้การลงเข็มแบบ ตอกกระแทกลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่นขนาดเล็ก

เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน


เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง รูปทรงสี่เหลี่ยมตัน ใช้การลงเสาเข็มเป็นแบบตอกกระแทกลงไปในดินด้วยปั้นจั่นขนาดเล็กไม่ยุ่งยาก ประหยัดค่าใช้จ่าย

เสาเข็มรูปตัวที


เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงรูปทรงเสาเข็มคล้ายตัวที ใช้กับงานโครงสร้างขนาดเล็ก รับน้ำหนักไม่มาก เช่น งานก่อสร้างฐานรากของรั้ว

 

เสาเข็มสี่เจาะขนาดเล็ก


เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตร มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะ มักจะเป็นแบบแห้ง

เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่


เสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตร ความลึกอยู่ในช่วง 25-65 เมตร วิธีในการเจาะมักเป็นระบบเปียก และต้องฉีดสารเคมีเหลวลงไปในหลุมที่ขุดเจาะ

 

วิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์

วิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ มีลักษณะการตอกโดยการนำเสาเข็มแต่ละท่อนมาเชื่อมต่อกัน เพื่อความสะดวกในการตอก และสะดวกในการขนส่ง ทั้งนี้ เสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน

เกี่ยวกับเสาเข็มไมโครไพล์ คือ

เกี่ยวกับเสาเข็มไมโครไพล์ เหมาะสำหรับงานสร้างบ้านใหม่ ต่อเติมอาคาร, ต่อเติมบ้าน ปรับปรุงฐานรากที่ไม่มั่นคงเกิดการทรุดตัว, สร้างโรงงานใหม่ที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง, สร้างตึก, สร้างอาคาร ควรเลือกใช้งานเสาเข็มไมโครไพล์ Micropile ที่มีคุณภาพ ทนทาน แข็งแรง เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าโดยผ่านการรับรองจากวิศกร

 

ลักษณะเกี่ยวกับเสาเข็มไมโครไพล์ คือ

เสาเข็มไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มที่ตอบโจทก์ให้กับลูกค้าหลายประเภทที่กำลังมองหาเสาเข็มที่มีคุณสมบัติ รับน้ำหนักได้มาก แข็งแรงทนทาน หากลูกค้าเลือกใช้งาน เสาเข็มไมโครไพล์ ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน รับประกันความปลอดภัยจากการใช้งาน ไม่ว่าเวลาผ่านไปนาน โครงสร้างที่ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ก็จะยังคงอยู่ ยังคงรับน้ำหนักได้ดี ปลอดภัย ลูกค้าจึงควรเลือกใช้ เสาเข็ม Micropile

 

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (PRESTRESSED CONCRETE PILE)

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารพานิชย์และบ้านพักอาศัยทั่วไปเป็นเสาคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วและโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง กรรมวิธีที่ใช้ในการลงเสาเข็มจะเป็นการตอกกระแทกลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่นซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนและประหยัดค่าใช้จ่าย
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกตามรูปร่างลักษณะของเสาเข็ม ที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่

  • เสาเข็มสี่เหลี่ยมชนิดกลวง
  • เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
  • เสาเข็มรูปตัวไอ
  • เสาเข็มรูปตัวที

ชนิดเสาเข็มที่ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวบ้านโดยทั่วไปจะเป็นเสาเข็ม รูปตัวไอส่วนขนาดและความยาวนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวงหรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้นมักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็กกว่าหรือการรับน้ำหนักน้อยกว่า เช่น งานฐานราก ของรั้ว

ขั้นตอนการดำเนินงาน

เสาเข็มไมโครสปัน
เสาเข็มไมโครสปัน
เสาเข็มไมโครสปัน
เสาเข็มไมโครสปัน

 

วิธีการเลือก

วิธีการเลือกเสาเข็ม ก่อนจะต่อเติมบ้าน หรือเติมโรงงาน จำเป็นต้องมีการเลือกเสาเข็มที่เหมาะสมในแต่ละงาน เพื่อความเหมาะสม เพราะเสาเข็มแต่ละประเภทมีคุณสมบัติต่างกันออกไป วิธีเลือกเสาเข็ม มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ

  1. เสาเข็มตอก
  2. เสาเข็มเจาะ

 

เสาเข็มสปัน

  1. ไมโครไพล์ (Micro Pile) เสาเข็มสั้น เช่น เสาเข็มไม้ หรือ เสาเหลี่ยมอัดแรงกลวงตัวไอ เสาเข็มตอก เป็นคอนกรีตอดแรงหล่อสำเร็จ เช่น กลม เหลี่ยม ไอ เสาเข็มสปัน, เสาเข็มเหล็ก
  2. เสาเข็มสปัน (Spun Micro Pile) หรือ เข็มกลม กลวงตรงกลาง มีเพลทเหล็กอยู่ที่หัวเข็มใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างเข็มแต่ละท่อน

ข้อดี เสาเข็มสปัน

สามารถรับแรงมากๆ ได้
เหมาะสำหรับโครงการใหญ่ๆ ,ตอกลึกๆ
ไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียง
ไม่ทาให้เกิดความสกปรกจากเศษดิน
เข้าในพื้นที่แคบๆได้

ข้อเสีย เสาเข็มสปัน

ราคาค่องข้างสูง แต่ก็คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป

 

เสาเข็มสั้น

เสาเข็มสั้น พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง เป็นเสาเข็มที่ใช้สำหรับงาน หรืออาคารที่รับน้ำหนักไม่มาก หรือฐานแบบตอกเข็มปูพรม เช่น พวก รั้ว, บ่อปลา เป็นต้น
เสาเข็มสั้นจะรับน้ำหนักได้จากแรงฝืดรอบตัวเสาเข็มกับดิน และตามหลักวิศวกรรมยอมรับได้ถ้ามันทรุดตัวเท่าๆกัน

ข้อดี เสาเข็มสั้น

ราคาถูก
ค่าแรงถูก

ข้อเสีย เสาเข็มสั้น

รับน้ำหนักได้น้อย
ความลึกไม่ได้ตามที่ต้องการ
เสาเข็มอาจหักระหว่างตอก
อาจทำให้บ้านทรุกเร็ว
ทำให้หน้างานสกปรก

 

เสาเข็มตอก

  1. เสาเข็มตอก คือ การตอกโดยใช้ปั้นจั่น ส่วนใหญ่การตอกเสาเจ็มจะต้องตอกให้ลึกลงไปอยุ่ที่ชั้นที่ดินแข็ง ถ้าเป็นเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก็อยู่ที่ความยาวประมาณ 21 เมตร ส่วนชนิดของเสาเข็มจอกส่วนใหญ่จะเป็นคอนกรีตอัดแรง และข้อสำคัญคือการขนย้าย ถ้าขนย้ายไม่ดี เสาเข็มอาจจะหักได้ และทำให้เสาเข็มท่อนนั้นไม่สามารถใช้งานได้

ข้อดีเสาเข็มตอก

มีราคาถูก เนื่องจากเสาเข็มที่ใช้เป็นเสาเข็มสำเร็จรูป จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงเหมือนเสาเข็มแบบเจาะและสามารถกำหนดขนาดของเสาเข็มได้ตามต้องการ

ข้อเสียเสาเข็มตอก

รับน้ำหนักได้น้อย
ความลึกไม่ได้ตามที่ต้องการ
เสาเข็มอาจหักระหว่างตอก
เสียงดังรบกวนเพื่อนบ้าน
มีดินทำให้หน้างานสกปรก
เข้าพื้นที่แคบๆ ไม่ได้

เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มเจาะ คือ เสาเข็มที่เจาะลงไปยังพื้นใต้ดิน และเทคอนกรีตลงไปในหลุมที่เจาะขึ้นรูปเป็นเสาเข็มรูปเสา เมื่อปูนก่อตัวแห้ง มีหน้าที่แบกรับนํ้าหนักเป็นฐานรากของอาคารตึกรามบ้านเรือนต่างๆ ซึ่งขนาดและจำนวนแล้วแต่เงื่อนไขสภาพแวดล้อมและความต้องการของเจ้าของงาน เสาเข็มเจาะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก (สามขาหยั่ง)
  2. เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ (รถเครนติดหัวส่วน)
  3. เข็มเจาะเสียบ (เจาะดิน เสียบเข็ม แล้วตอกซ้ำ)

เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก

แบบใช้สามขาหยั่ง ลักษณะของเสาเข็มแบบนี้คือการ ตอกปลอกเหล็กเป็นท่อนๆลงไปในดิน แล้วเจาะเอาดินในปลอกขั้นมาจนถึงระดับดินที่ต้องการ เสร็จแล้วใส่เหล็ก เทคอนกรีตลงไปในหลุ่มที่เจาะไว้แล้วกถอดปลอกออก

เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่

มีลักษณะเหมือนเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แต่เจาะลงไปลึกกว่า ขนาดใหญ่กว่า มีขั้นตอนยุ่งยากมากกว่า คือโดยมากจะต้องให้มะลุชั้นทราย ลงไปใต้ดิน มากกว่าเข็มเจาะจะทำได้ (เกิน 21 เมตร) และจะเจอตาน้ำ กับปํญหาการพังทลายของข้างหลุม ต้องใช้สารเคมีเรียกว่า เบนโทไนท์ ป้องกันดินพัง กับเครื่องจักรหนักในการทำงาน เช่นพวก steam hammer, Hydraulic jack, หรือ การอดน้ำ

เสาเข็มเจาะขนาดเสียบ

จะใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเหมือนเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ แต่ตอนต้นจะเป็นการเจาะรูนำให้เกิดระดับความลึกชั้นดินอ่อนเสียก่อน โดยใช้รถเจาะ แล้วค่อยแทงเข็มลงไปตอกซ้ำ ที่ต้องทำแบบนี้เพราะเป็นการลดการสั่นสะเทือนของอาคารข้างเคียง อาจเป็นแค่บางแนวที่ใกล้กับอาคารข้างเคียงมากเกินไป

 

วิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์

วิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ มีลักษณะการตอกโดยการนำเสาเข็มแต่ละท่อนมาเชื่อมต่อกัน เพื่อความสะดวกในการตอก และสะดวกในการขนส่ง ทั้งนี้ เสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน

ขั้นตอนการตอกเสาเข็ม

กรรมวิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ คือ จะทำการตอกเสาเข็มท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิดก่อน แล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาเข็มท่อนต่อไป นำไปต่อกับเสาเข็มต้นที่ตอกไว้ให้สนิทแล้วทำการเชื่อมให้สนิท การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างประณีตโดยรอบให้เสาเข็มทั้งสองท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ

การตอกเสาเข็มที่ลึกถึงระดับ จะดูการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าจะเสร็จสิ้นเรียบร้อยได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วยซึ่งเรียกว่า “Blow Count” ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน

ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความหนาแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการับน้ำหนักยังมีไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มไมโครไพล์และตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด

ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมีมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องต่อลงไปอีก เพราะจะฝืดและถ้าตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มที่เจาะลงไปแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพของดิน ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม

ในการตอกเสาเข็มควรทราบว่า เสาเข็มไมโครไพล์ ที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมกับไม่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมคุณภาพจะต่างกันยังไง

รายการการตรวจสอบ

  • ตรวจสอบว่าเสาเข็มนั้น มี ม.อ.ก. หรือไม่ โดยให้ผู้รับจ้าง นำเอกสารรับรอง ตรา ม.อ.ก. มาแสดง
  • ตรวจสอบรายการคำนวณของเข็มตอกพร้อมวิศวกรเซ็นต์รับรองเข็ม
  • ตรวจสอบเงื่อนไขการ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ กำหนดด้วยความยาว หรือ Blow Count
  • ตรวจสอบแผนงานการจัดลำดับขั้นตอนการตอกเข็ม และทางเดินปั้นจั่น
  • ตรวจสอบ ขนาด พื้นที่หน้าตัด อายุของเข็ม และ คุณภาพของเสาเข็ม ถูกต้องหรือไม่
  • ตรวจสอบ หัวเข็มได้ฉากกับแนวแกนหรือไม่เอียงเกินข้อกำหนดหรือไม่
  • ตรวจสอบเสาเข็ม มีตรา ม.อ.ก. หรือไม่
  • ตรวจสอบ หัวเข็มตามแบบมี Dowel หรือไม่
  • ตรวจสอบ ความพร้อม – ปั้นจั่น และ การกองเข็ม
  • ซักซ้อมความเข้าใจกับผู้รับเหมา ก่อนลงมือทำงาน

ขณะทำการตอกเข็ม

  • ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ขsณะนำเสาเข็มจ่อตรงหมุดที่จะตอก
  • ตรวจสอบ แนวดิ่งของเสาทั้ง 2 ด้าน ด้วยขาทราย
  • ตรวจสอบขณะ การตอกเสาเข็มไมโครไพล์
  • ตรวจสอบการต่อเข็ม ในกรณีที่เข็มต่อด้วยการเชื่อม
  • ตรวจสอบ ความลึกของเข็มที่จม
  • ตรวจสอบ Blow Count
  • ตรวจสอบการลากเสาเข็มมายังจุดที่ตอก

 

 

 

เราพร้อมที่จะสร้างฐานรากซึ่งเป็นพื้นฐานของบ้าน อาคารให้คุณ โครงการของคุณ

ขอใบเสนอราคา ติดต่อผ่านช่องทางนี้.