ชนิดของเสาเข็ม

ข้อมูลเสาเข็ม

เทคโนโลยีการในการก่อสร้างในปัจจุบันเจริญก้าวหน้าทันสมัยมาก สิ่งปลูกสร้างที่เกิดการทรุดตัว ถ้าเป็นสมัยก่อนอาจต้องทุบทิ้งเพื่อสร้างใหม่ แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถช่วยแก้ปัญหาการทรุดตัวของสิ่งปลูกสร้างได้หรือรากฐานที่เรียกว่าเสาเข็ม เรามาทราบข้อมูลเกี่ยวกับเสาเข็มกันเลยคะ

เสาเข็มไมโครไพล์ มีส่วนประกอบ

  • หัวเสาเข็ม (Head) คือส่วนบนสุดของเสาเข็มที่รองรับแรงกระแทกจากการตอก
  • ตัวเสาเข็ม (Foot) ส่วนลำตัวของเสาเข็ม มีพื้นที่ผิวมากกว่าส่วนอื่นๆ ทำหน้าที่รับแรงฝืดระหว่าง เสาเข็มกับดิน
  • ปลายเสาเข็ม (Tip) คือนิส่วนล่างสุดของเสาเข็ม ทำหน้าที่เจาะทะลุชั้นดิน และรับแรงแบกทานมีหลายรูปแบบแล้วแต่ชนิดของดินที่ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ลงไป
      ได้แก่
          - ปลายหัวป้าน เหมาะกับการตอกผ่านดินอ่อน
          - ปลายหัวเข็ม เหมาะกับการตอกผ่านดินอ่อน โดยสวนปลายปักลงชั้นดินดานหรือ ทราย
          - ปลายหัวดินสอ เหมาะกับการตอกผ่านดินเหนียว กรวด ทราย โดยปลายเป็นเหล็กหล่อดัง
          - ปลายหัวปากกา เหมาะกับการตอกผ่านชั้นหิน
  • แผ่นเหล็กหัวเสาเข็ม (Driving Head) คือแผ่นเหล็ก ที่ปิดทับบนหัวเสาเข็มถูกยึดด้วยเหล็กสมอเทฝังเข้าเนื้อ คอนกรีตทำหน้าที่เพื่อรองรับน้ำหนักการกระทบของตุ้มและใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างเข็มท่อนบน และล่าง

การตรวจรับและการกองเก็บเสาเข็มไมโครไพล์

  • การตรวจรับเสาเข็มที่นำส่ง
          - ตรวจสอบความยาว ขนาด Dowel และวันที่ ผลิต
          - การลงเสาเข็มควรใช้รถเครนเพื่อป้องกันเสาเข็มร้าวหรือหัก
          - การลงโดยใช้แรงงานคนงัดลงควรจัดลงผ่านทางลาด และมียาง รถยนต์รองรับ
          - ควรทำการตรวจรอยร้าวของเสาเข็ม โดยใช้น้ำราด บริเวณที่รอยร้าว น้ำจะซึม
    ลงทำให้เห็นรอยร้าวเมื่อน้ำบริเวณอื่นแห้งถ้าพบรอยร้าวรอบเสาเข็มเกินกว่าที่ระบุในข้อกำหนดประกอบแบบหรือตามที่กำหนดใน มอก.ไม่ควร นำไปใช้งาน
  • การกองเก็บเสาเข็ม
          - ปรับพื้นที่กองเก็บให้เรียบ ได้ระดับ
          - ใช้ไม้รองบริเวณที่ 0.21L ของเสาเข็มทั้งด้านหัวเสา และปลายเสาตามทุกชั้นที่มีการวางซ้อนทับต้องรองไม้รองให้ตรงเป็นแนวดิ่งมิฉะนั้นเสาเข็มจะวิบัติสามารถสังเกตจุดรองรับได้ว่าจะอยู่บริเวณเดียวกับจุดที่ยก

การโยกย้ายเสาเข็มไมโครไพล์

เนื่องจากเสาเข็มคอนกรีตมีความเปาะมีโอกาสชำรุดเสียหายในการเคลื่อนย้าย จึงควรรู้จักตำแหน่งในการยกเพื่อโยกย้ายที่ถูกต้อง โดยมี 3 ลักษณะคือ
      - การยกจุดเดียว (Single Point Lifting)
      - การยกสองจุด (TwoPoint Lifting)
      - การยกสามจุด(Three Point Lifting)