บริการธนกฤตเข็มเจาะ
- รับเจาะสำรวจชั้นดิน พร้อมรายการคำนวณน้ำหนัก
- รับวางผัง
- รับทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Siesmic Test) โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
- รับงานทั่วประเทศ
- รับขนย้ายโดยรถ 6 ล้อ ติดเครน
- ยินดีให้ข้อมูลและรับปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับงานเข็มเจาะ
- รับประเมินราคาเข็มเจาะ
- งานฐานรากที่มีพื้นที่จำกัดคับแคบ เช่น ในตัวอาคาร ใต้อาคาร ฯ
- งานฐานรากขยายต่อเติมจากอาคารเดิม
- งานฐานรากรับน้ำหนักเครื่องจักร
- งานแก้ไขฐานรากอาคารโดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม
หมายเหตุ : แบบรายละเอียดของเสาเข็มที่แสดงนี้เป็นแบบมาตรฐานสำหรับเสาเข็มที่รับแรงอัดเป็นหลัก ในกรณีที่ต้องการให้เสาเข็มรับแรงดึง แรงด้านข้าง หรือโมเมนต์ จะต้องทำการออกแบบใหม่
- ความสูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 3 เมตร
- เมื่อเจาะถึงระดับชั้นทรายต้องหยุดเจาะ
- เมื่อเจาะเจอชั้นน้ำต้องหยุดเจาะทันทีแม้ว่าจะยังไม่ถึงชั้นทรายก็ตาม
- พื้นที่เจาะต้องอยู่ในแนวระนาบเรียบ
- พื้นที่ต้องไม่เป็นดินเลนโคลนลึก
- เมื่อเจาะเจอเสาเข็มเก่าหรือสิ่งกีดขวางต้องทำการย้ายหมุดศูนย์เข็ม
สำรวจจุดบกพร่องของอาคาร
สำรวจจุดบกพร่องของอาคาร
Building Defect Check
สำรวจจุดบกพร่องของ บ้าน และ อาคาร จุดบกพร่องที่ว่า ทำไมอาคารจึงทรุดตัว และการทรุดตัว มีสาเหตุหลักๆ มาจากอะไร?
- การก่อสร้างอาคารในระบบฐานรากตื้น เช่น ใช้เสาเข็มสั้น 6 เมตร, เข็มไม้, ฐานรากแผ่, หรือพื้นชนิดวางบนดิน โดยเฉพาะชั้นดินในกรุงเทพและปริมณฑล ดินชั้นบนมีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน เกิดการยุบอัดตัว หรือทรุดตัวได้มาก กรณีเช่นนี้ถือว่าไม่อันตรายแต่อย่างใด ถ้าโครงสร้างมีการทรุดตัวเท่าๆ กัน
- การก่อสร้างที่ใช้ระบบฐานรากแตกต่างกัน เช่น งานต่อเติม, ดัดแปลง เป็นต้น ในกรณีนี้ถ้าดำเนินการก่อสร้างไม่ถูกหลักวิศวกรรม ไม่มีการตัด Joint หรือมีการเชื่อมโครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดเข้ากับตัวบ้าน อาจเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน, ทรุดร้าว, ทรุดเอียง ถ้ามีการเชื่อมโครงสร้างกับโครงสร้างเดิม อาจเกิดการยึดรั้งและส่งผลกับโครงสร้างเดิมด้วย โดยถ้าโครงสร้างหลักมีการแตกร้าวถือว่าเป็นการทรุดที่อันตราย
- ความบกพร่องของเสาเข็มเอง เช่น เสาเข็มหัก, เสาเข็มชำรุด, เสาเข็มเดี่ยวเยื้องศูนย์, ฐานรากพลิก, เสาเข็มตอกไม่ได้ Blow Count เป็นต้น ส่วนใหญ่จะรู้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วเกิดความบกพร่องให้เห็น เช่น ผนังร้าวในแนวทแยง 45 องศา คล้ายๆ กันในทุกชั้น, มีเสียงโครงสร้างลั่น เป็นต้น ถือเป็นการทรุดที่อันตรายและจำเป็นต้องรีบแก้ไขเช่นเดียวกัน
- การออกแบบฐานรากที่ผิดพลาด เช่น ไม่มีการเจาะสำรวจดิน, น้ำหนักบรรทุกจริงที่ถ่ายลงเสาเข็มต่อต้น ในแต่ละฐานรากไม่เท่ากัน เป็นต้น
เราจะรู้ได้อย่างไร...ว่าอาคารของเราเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน?
- ระดับพื้นเอียง อาจทดสอบได้โดยการถ่ายระดับน้ำหรือกลิ้งวัตถุทรงกลมบนพื้นเพื่อตรวจสอบระดับ ที่แตกต่างกัน
- เกิดการแตกร้าวเป็นมุมเฉียง 45 องศาที่ผนังโดยรอยแตกที่กว้างและยาวขึ้นแสดงถึงการทรุดตัวที่มากขึ้น
- โครงสร้างหลักมีการแตกร้าว เช่น เสา คาน พื้น โดยอาการของการแตกร้าวจะแตกต่างกันออกไป รวมถึงมีเสียงแตกลั่นในบางครั้ง
การตรวจสอบตัวบ้านก็ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการตรวจดูสภาพรอบบ้าน สำหรับบ้านที่สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ให้ตรวจดูดินที่รองรับตัวบ้านว่ามีการยุบตัวหรือไม่ หากดินมีการยุบตัวอาจทำให้ฐานรากขยับตัวได้ นอกจากนี้การที่ดินยุบตัวอาจทำให้พื้นคอนกรีตชั้นล่างเกิดอาการแอ่นตัวขึ้น ได้
หากพบว่าเสาบ้านมี รอยแตกขนานกับเสา ให้เร่งทำการแก้ไข เพราะการที่เสาบ้านถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน อาจทำให้เหล็กเป็นสนิม ดันให้คอนกรีตแตกหลุดออกมาได้ ซึ่งจะทำให้ เสาไม่สามารถรับน้ำหนักได้ แม้จะไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาในทันที แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้อยู่อาศัยได้
สำหรับคานรับพื้นชั้นบน หากพบรอยแตกตามแนวนอน ให้รีบแก้ไขด่วนเช่นกัน เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาเดียวกับรอยแตกที่ขนานกับเสา
พื้นคอนกรีตชั้น 2 ถ้ามีความชื้นใต้พื้น จะเกิดรอยแตกเป็นเส้น ต้องรีบทำการค้ำยันไม่ให้พื้นทรุดตัวลงมา ก่อนเร่งรีบทำการแก้ไข ส่วนเสาชั้นบน ถ้าน้ำท่วมถึง ให้ทำการสำรวจเช่นเดียวกับเสาชั้นล่างกรณีบ้านไม้ มักพบปัญหาไม้ผุกร่อนตามตำแหน่งรอยต่อ เสากับคาน หรือคานกับพื้น เนื่องจากมีความชื้นสลับกับแห้ง ทำให้ไม้มีโอกาสแตกร่อนได้สูง
ข้อดีเสาเข็มแบบเจาะ
- สามารถลดการสั่นสะเทือน
- ใช้พื้นที่น้อยในการทำงาน
- รับน้ำหนักได้ดี
- เหมาะกับงานทุกชนิด
- ลดเวลาการก่อสร้าง
- ลดปัญหามลพิษ
ข้อเสียเสาเข็มแบบตอก
- เกิดแรงสั่นสะเทือน
- ใช้พื้นที่กว้าง
- เสียงดัง
- เกิดผลกระทบกับอาคารไกล้เคียง
- มีข้อกําจัดในบางอาคาร