งานก่อสร้าง 2
สำหรับการสร้างบ้านทางเราได้นำ เทคนิคที่ควรรู้ เป็นเทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการการสร้างบ้านมาเสนอไห้ทุก ๆท่านสำหรับคนที่จะปลูกบ้านใหม่หรือต้องการเรียนรู้เอาไว้ก่อน แต่การที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะว่าเนื่องจากต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากเพื่อการสร้างบ้านดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจปลูกบ้านสักหลัง ไทยไมโครไพล์ จึงแนะนำว่าต้องควรคำนึงถึง ขั้นตอนการดำเนินการและรายละเอียดไห้รอบคอบก่อนเพราะถ้าตัดสินใจพลาดไปแล้วอาจไม่มีโอกาสให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง บ้านที่หวังจะได้ความสุขในชีวิต อาจจะกลายเป็นทุกข์ไปตลอดชีวิตก็ได้
เราก็จะต้องเข้าใจความต้องการของตัวเอง รวมถึงสิ่งที่จำเป็นต่างๆ ที่จะทำให้บ้านของเราเป็นเหมือนที่พักกายและที่พักใจ ในยามที่เราพักคนที่ปลูกสร้างบ้านเองมักมีปัญหายุ่งยากชวนให้ปวด เมื่อเริ่มทำการก่อสร้างก็มีปัญหาการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน มีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างเพราะเปลี่ยนแปลงความต้องการในการใช้งาน แต่จริงๆ แล้วการสร้างบ้านของตนเองนี้ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการก่อสร้างทั้งหมดก็ได้ เพียงทราบรายละเอียดหลักๆ ที่จะทำให้ได้บ้านที่ทั้งสวยและมั่นคงปลอดภัยก็พอแล้ว
การขออนุญาตปลูกบ้าน
ประกอบด้วย
- กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร
- แบบแปลนแผนผัง จำนวน 5 ชุด
- หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบ สถาปนิก และ วิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต
- สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง
- สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียน
วิธีการแบ่งงานของสถาปนิกและมัณฑนากร
งานของสถาปนิก คือ การออกแบบตัวบ้าน เพื่อครอบคลุมห้องต่าง ๆ ให้กลมกลืน และมีความงามต่อเนื่องกัน พร้อมทั้งสามารถป้องกันแดดฝน รวมถึงการรับลมตามธรรมชาติด้วย
งานของมัณฑนากร คือ การออกแบบตกแต่งภายใน รวมถึงรายละเอียดของผนัง พื้น ฝ้าเพดาน พร้อมทั้ง เฟอร์นิเจอร์ และส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยที่สถาปนิกออกแบบไว้
ขั้นตอนการปลูกสร้างบ้าน
มีดังนี้คือ
- ตอกเข็มหล่อฐานรากหรือ เสาเข็ม คานคอดิน และ ตั้งเสาชั้นล่าง
- หล่อคานชั้นบน และเสาสำหรับรับหลังคาชั้น 2
- มุงหลังคา ก่ออิฐผนัง ฉาบปูน ติดตั้ง วงกบ ใส่ฝ้าเพดาน
- ปูวัสดุพื้น ติดตั้งประตู หน้าต่าง ติดตั้งระบบท่อน้ำ
- บุผนังกระเบื้อง ติดตั้งสุขภัณฑ์ ทาสี เดินสายไฟ ติดตั้งดวงโคม เก็บรายละเอียดส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย
การสร้างสิ่งปลูกสร้าง
เพื่อความเข็งแรงคงทนถาวร เราควรจะต้องเน้นเรื่องฐานรากให้มาก เพราะว่าฐานรากถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของโครงสร้าง “เสาเข็ม” จึงมีส่วนสำคัญในการรับน้ำหนักโครงสร้างเป็นอย่างมากสำหรับสิ่งปลูกสร้างก็จะใช้เสาเข็มแตกต่างกันไป อย่างเช่น บ้านจะใช้ เสาเข็มไมโครไพล์
เสาเข็มจะรับน้ำหนักได้มากหรือขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆ ประการด้วยกัน เช่น ขนาดของเสาเข็ม รูปทรงของเสาเข็ม ความลึกในการตอกเสาเข็ม เป็นต้น สภาพดินที่ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ก็มีส่วนสำคัญมากเช่นกัน ว่าเสาเข็มจะรับน้ำหนักได้มากน้อยเพียงใด เพราะว่าดินแต่ละพื้นที่ก็มีสภาพแตกต่างกันออกไป แล้วแต่สภาพของดิน ดังนั้นก็ตอกเสาเข็มต้องเลือกให้ดี และตอกให้ได้ความลึกที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มยืนอยู่บนชั้นดินที่แข็งพอจะสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้