ขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนการทำงาน

TanakritKemjoh Limited Partnership

จัดเตรียมเครื่องมือและปรับพื้นที่ที่จะทำงานเจาเสาเข็ม

ในการจะขุดเจาะเสาเข็มนั้น เริ่มแรกควรจะมีช่างผู้ชำนาญการไปตรวจสอบพื้นที่ทำงานจริงเพื่อเป็นการประเมินและแนะนำการปรับพื้นที่ทำการงานให้เหมาะสมและสะดวกในการทำงานและจัดเตรียมเครื่องมือให้เหมาะสมกับสภาพหน้างานจริง หากเป็นอาคารที่มีเพดานเก่าอยู่ ควรจะมีความสูงไม่ต่ำกว่า 3 เมตร และถ้าหากมีอาคารข้างเคียงควรมีการจัดทำรั้วกั้นเศษดินและโคลนเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการกระทบกระเทือนโดยตรงแก่อาคารข้างเคียง โดยรั่วที่ดีนั้นควรจะสูงประมาณ 6-10 เมตร และควรกันเป็นบริเวณรอบไซด์งาน

การวางตำแหน่งเสาเข็มเจาะนั้น หากเป็นอาคารที่มีรั้วรอบอยู่แล้ว ควรจะมีการวางตำแหน่งให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 70 ซม. เพื่อที่เครื่องมือจะสามารถมีพื้นที่ทำงานได้ และหากเป็นตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับมุมผนัง 2 ด้าน ควรที่จะวางตำแหน่งการเจาะให้ห่างจากมุมประมาณ 120 ซม. โดยประมาณ การวางตำแหน่งที่ดีนั้น ควรหลีกเลี่ยงวางตำแหน่งไปทับกับตัวโครงสร้างเก่าของอาคารเดิม

\"\"

นำเครื่องมือสามขา (Tripod Rig) เข้าตำแหน่งที่จะทำการเจาะ

การติดตั้งสามขา (Tripod Rig) ให้ตรงกับตำแหน่งที่จะทำการเจาะเสาเข็มเมื่อตรวจสอบตำแหน่งถูกต้องแล้ว ใช้ลูกตุ้มน้ำหนักขนาดประมาณ 700 - 800 กิโลกรัม เจาะนำก่อนประมาณ 1 เมตร ลงปลอดเหล็ก (Casing) ตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเสาเข็มให้ตรงตามตำแหน่งที่กำหนดไว้โดยใช้เครื่องมือสามขา และใช้ลูกตุ้มตอกปลอกเหล็กที่มีความยาวท่อนละ 1.20 - 1.50 เมตร ลงดิน โดยปลอดเหล็กแต่ละท่อนจะต่อกันด้วยเกลียว การต่อปลอกเหล็กนั้นควรจะต่อปลอกลงไปในดินให้เพียงพอที่จะป้องกันชั้นดินอ่อนพังทลายลงมาในหลุมเจาะ โดยทั่วไปจะต่อปลอดเหล็กถึงชั้นดินแข็งปานกลาง (Medium Clay) ในขณะลปลอดเหล็กนั้น จะทำการตรวจวัดค่าความเบี่ยงเบนแนวราบ และแนวดิ่งเป็นระยะ โดยค่าความเบี่ยงเบนที่ยอมให้คือ

ความเบี่ยงเบนแนวราบ 5 เซนติเมตร สำหรับเสาเข็มเดี่ยว
ความเบี่ยงเบนแนวราบ 7 เซนติเมตร สำหรับเสาเข็มกลุ่มเดี่ยว
ความเบี่ยงเบนแนวดิ่ง 1 : 100 โดยรวม

\"\"

การขุดเจาะเสาเข็มด้วยกระเช้าเก็บดิน (Bucket)

เมื่อทำการต่อปลอกเหล็ก (Casing) ป้องกันการบีบและพังทลายของดินเรียบร้อยแล้วก็ทำการใช้กระเช้าเก็บดินที่มลิ้นปิดเปิดที่ปลายปลอก และชนิดที่ไม่มีลิ้นปิดทำการเก็บดินขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงชั้นดินแข็งปนทราย โดยควรที่จะหยุดเจาะก่อนที่จะถึงชั้นน้ำใต้ดินเพื่อหลีกเลี่ยงกรณีน้ำไหลเข้าหลุมเจาะ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของเสาเข็มต้นนั้นลดลงความลึกโดยทั่วไปในกรุงเทพมหานครนั้น จะอยู่ที่ความลึกประมาณ 17 - 21 เมตร

\"\"

การลงเหล็กเสริม

เมื่อทำการเจาะจนได้ระดับความลึกตามมาตรฐานแล้ว จึงนำเหล็กเสริมใส่ลงไปในหลุมเจาะ โดยแบบโครงเหล็กที่ใช้ควรมีมารฐาน (ว.ส.ท.1008)ตามที่วิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด (แบบโครงสร้างเหล็กมาตรฐานของเสาเข็มเจาะ)ความยาวเหล็กเสริมควรมีความยาวตลอดหลุมเจาะ และยกลอยจากก้นหลุมประมาณ 50 ซม. ปริมาณเหล็กเสริมยืนนั้น ไม่ควรต่ำกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็มทั้งนี้เหล็กเสริม ที่นำมาใช้นั้นควรใช้เหล็กที่มีมาตรฐาน โดยใช้เหล็กเสริมยืนขั้นต่ำควรใช้เหล็กกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มม.และระยะห่างระหว่างปลอกไม่เกิน 20 ซม.ในแต่ละช่วงของเหล็กเสริมควรใส่ ลูกหนุน (Spacer) ที่ทำจากวัสดุที่ทนทาน เช่น ปูนหล่อทรายหรือคอนกรีตหล่อ ซึ่งมีกำลังความแข็งแรงสูง และต้องไม่เป็นาเหตุทำให้เหล็กเสริมผุกร่อน ระยะหุ้ม (Covering) สำหรับเหล็กเสริมยืนจะต้องมีคอนกรีตหุ้มไม่น้อยกว่า 75 มม.

\"\"

\"\"

การเทคอนกรีต

คอนกรีตที่ใช้สำหรับเสาเข็มเจาะนั้น จะต้องเป็นคอนกรีตชนิดพิเศษที่เหมาะสำหรับการทำเสาเข็มเจาะเท่านั้น โดยค่าความแข็งแรงของคอนกรีต (Compressive Strength) ควรอยู่ระหว่าง 210 - 280 Cylinder หากเป็นไปได้ ควรทำการเทคอนกรีตผ่านกรวยเทคอนกรีตหล่นตรงกลางรูเจาะกันการแยกตัวของคอนกรีต และเพื่อให้คอนกรีตเกิด Self Compaction จึงกำหนดให้คอนกรีตมีค่า Slump Test อยู่ในช่วง 10.00 - 12.50 เซนติเมตร การเทคอนกรีตนั้นจะเทคอนกรีตจนเต็มหรือเกือบเต็มหลุมเจาะก่อนทำการถอนปลอกเหล็ก ซึ่งจะทำให้คอนกรีตมีความต่อเนื่องและขณะถอนปลอกเหล็กจะมองเห็นสภาพการยุบตัวของคอนกรีตได้ชัดเจน ทำให้มั่นใจได้ว่าเสาเข็มมีความสมบูรณ์ตลอดความยาวการเทคอนกรีตจนเต็มหรือเกือบเต็มหลุมเจาะนี้แม้แต่เป็นข้อดี แต่จะกระทำได้สำหรับเสาเข็มเจาะที่เจาะดินไม่ผ่านชั้นทรายชั้นแรกเท่านั้น เพราะหากต้องเจาะผ่านชั้นทรายชั้นแรกจำเป็นต้องลงปลอกเหล็กยาวลงไปกันชั้นทราย (ปลอกเหล็กมีความยาวมากกว่า 20.00 เมตร) การเทคอนกรีตขึ้นมามากเกินไป จะทำให้ไม่สามารถถอนปลอกเหล็กขึ้นได้เพราะกำลังเครื่องจักรไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องทำการเทคอนกรีตและถอนปลอกเหล็กกันดินเป็นช่วงๆ กรณีเช่นนี้ควรมีวิศวกรที่ชำนาญงานคอยตรวจเช็คระดับคอนกรีตภายใลอกเหล็กตลอดเวลาที่ดำเนินการถอน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่มีการไหลดันของดินและน้ำเข้ามา จำทำให้เสาเข็มคอดหรือขาดออกจากกัน และเมื่อทำการเทคอนกรีตเสร็จสิ้น ทีมงานจะต้องทำการล้างเศษดินที่อาจจะติดที่ล้อรถขนส่งคอนกรีตหรือพื้นที่บริเวณงานให้เรียบร้อย

\"\"

\"\"

การถอนปลอกเหล็ก

การถอนปลอกเหล็กด้วยรอกพวง จะต้องเทคอนกรีตให้มีระดับสูงกว่าปลอกชั่วคราวพอสมควรจึงจะเริ่มถอดปลอกเหล็กขึ้น โดยปรกติขณะถอดปลอกควรให้คอนกรีตอยู่ในปลอกเหล็กไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นดินอ่อนบีบตัว ซึ่งจะทำให้ขนาดเข็มเปลี่ยนไป และเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำใต้ดินซึมผ่านเข้าไปในรูเจาะขนาดถอนปลอกเหล็ก หากคอนกรีตมีการยุบตัว จะต้องเติมคอนกรีตเพิ่ม ระดับคอนกรีตที่เทเพิ่มจะเผื่อให้สูงกว่าหัวเสาเข็มที่ต้งการไม่น้อยกว่า 0.50 เมตรเพื่อสกัดคอนกรีตที่มีเศษดินร่วงหล่นลงขณะถอนปลอกเหล็กในระหว่างการถอดปลอกเหล็กจะทำการอัดลมลงในหลุมเจาะ เพื่อทำให้คอนกรีตแน่นตัว

การดำเนินการขุดเจาะเสาเข็มต้นต่อไป

เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะ ผู้ควบคุมงานจะทำการเขียนกำกับหมายเลขเสาเข็ม วัน เวลาที่เจาะ การเทคอนกรีต ความคลาดเคลื่อนของเสาเข็ม ระยะเบี่ยงเบนในแนวดิ่ง และทำการจดบันทึกอุปสรรคหรือเหตุการณ์ผิดปรกติทุกอย่างระหว่างทำเสาเข็ม เพื่อส่งให้ผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรผู้ออกแบบดำเนินการต่อไป จากนั้นจึงทำเสาเข็มต้นต่อไป โดยเสาเข็มต้นต่อไปต้องอยู่ห่างจากเสาเข็มที่เพิ่งทำแล้วเสร็จ ไม่น้อยกว่า 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม หรือใกล้เคียงเสาเข็มต้นเดิมที่ทแล้วเสร็จ ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง