บริการธนกฤตเข็มเจาะ
- รับเจาะสำรวจชั้นดิน พร้อมรายการคำนวณน้ำหนัก
- รับวางผัง
- รับทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Siesmic Test) โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
- รับงานทั่วประเทศ
- รับขนย้ายโดยรถ 6 ล้อ ติดเครน
- ยินดีให้ข้อมูลและรับปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับงานเข็มเจาะ
- รับประเมินราคาเข็มเจาะ
- งานฐานรากที่มีพื้นที่จำกัดคับแคบ เช่น ในตัวอาคาร ใต้อาคาร ฯ
- งานฐานรากขยายต่อเติมจากอาคารเดิม
- งานฐานรากรับน้ำหนักเครื่องจักร
- งานแก้ไขฐานรากอาคารโดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม
หมายเหตุ : แบบรายละเอียดของเสาเข็มที่แสดงนี้เป็นแบบมาตรฐานสำหรับเสาเข็มที่รับแรงอัดเป็นหลัก ในกรณีที่ต้องการให้เสาเข็มรับแรงดึง แรงด้านข้าง หรือโมเมนต์ จะต้องทำการออกแบบใหม่
- ความสูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 3 เมตร
- เมื่อเจาะถึงระดับชั้นทรายต้องหยุดเจาะ
- เมื่อเจาะเจอชั้นน้ำต้องหยุดเจาะทันทีแม้ว่าจะยังไม่ถึงชั้นทรายก็ตาม
- พื้นที่เจาะต้องอยู่ในแนวระนาบเรียบ
- พื้นที่ต้องไม่เป็นดินเลนโคลนลึก
- เมื่อเจาะเจอเสาเข็มเก่าหรือสิ่งกีดขวางต้องทำการย้ายหมุดศูนย์เข็ม
เสาเข็มไมโครไพล์
บ้าน/อาคารนั้นก็ต่างต้องการรากฐานที่แข็งแรง ทนทานเพื่อทำให้มันมีความมั่นคง แข็งแรง ซึ่งตัวของเสาเข็มนั้นถือเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของโครงสร้างบ้าน/อาคาร เพราะมีหน้าที่รับน้ำหนักจากส่วนต่างๆของบ้าน การเลือกเสาเข็มอย่างเหมาะสม และการควบคุมการก่อสร้างอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นในภายหลัง
โดยทั่วไปเสาเข็มสำหรับการตอกเสาเข็มบ้าน/อาคารนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ เสาเข็มตอก และเสาเข็มเจาะ
1. เริ่มต้นกันที่เสาเข็มตอกคือ เสาเข็มที่เห็นอยู่ทั่วไป มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆ มีหน้าตัดเป็นรูปเหลี่ยม กลม หรือตัวไอ ( I ) ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นเสาเข็มคอนกรีตรูปหกเหลี่ยมจึงเหมาะที่จะใช้กับโครงสร้างขนาดเล็กๆหรือตอกเสาเข็มในบริเวณบ้าน เช่น รั้ว ศาลพระภูมิ เป็นต้น โดยการตอกเสาเข็มบ้าน/อาคารด้วยวิธีการนี้จะใช้ปั้นจั่นตอกลงไปในพื้นดิน
2. เป็นการตอกเสาเจ็มโดยใช้เสาเข็มเจาะเปียก ซึ่งการตอกเสาเข็มประเภทนี้นั้นใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อยกว่าเสาเข็มตอกจึงใช้ได้ดีกับการก่อสร้างในพื้นที่แคบๆและมีการจัดกัดของพื้นที่เนื่องจากวิธีการตอกเสาเข็มแบบนี้นั้นจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่าเสาเข็มตอก
3. การใช้เสาเข็มเจาะแห้ง การตอกเสาเข็มบ้าน/อาคารประเภทนี้จะต้องควบคุมคุณภาพการก่อสร้างมากว่าเสาเข็มแบบตอก โดยวิธีการตอกเสาเข็มโดยการใช้เสาเข็มเจาะแห้งนั้นมีขั้นตอนการทำงานโดยเริ่มจากการกดปลอกเหล็กกันดินพังลงไปในตำแหน่งที่ต้องการเจาะเสาเข็ม ซึ่งจะเจาะเสาเข็มลงไปให้ได้ความลึกที่กำหนด แล้วจึงใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปในบริเวณฐานรากของมันซึ่งการควบคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้งนั้น จะต้องมีการตรวจสอบในขั้นตอนสำคัญๆตั้งแต่ยังไม่เริ่มเจาะเสาเข็มบ้าน/อาคาร โดยเริ่มตั้งแต่ตรวจสอบตำแหน่งการลงปลอกเหล็กว่าถูกต้องหรือไม่เพื่อเป็นการเริ่มต้นที่ดีของรากฐาน จากนั้นต่อมาจึงตรวจสอบดูว่ารูเจาะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง, ความลึก, ขนาด และรูปร่างตามที่กำหนดไว้ในแบบหรือไม่ให้ถูกต้องการหลักการเจาะเสาเข็มโดยทางทีมงานวิศวกร ซึ่งสิ่งสำคัญต้องตรวจสอบก้นหลุมให้ดีเมื่อทำการเจาะเสาเข็มบ้าน/อาคารเรียบร้อยแล้ว
ต่อมาจะเป็นวิธีการควบคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้งในการตอกเสาเข็ม โดยเริ่มต้นคือการตรวจสอบว่าปริมาณของคอนกรีตที่ใช้เทใกล้เคียงกับปริมาณของดินที่ถูกเจาะออกไปหรือไม่ในการทำข้างต้น โดยในการเทคอนกรีตนั้นโดยปกติคอนกรีตจะยุบตัวลงหลังจากที่ถอดปลอกเหล็กออก ดังนั้นจึงควรเทคอนกรีตบ้าน/อาคารควรทำทันที เพื่อไม่ให้ตัวของเสาเข็มนั้นเบี้ยวจนรากฐานของโครงสร้างนั้นอยู่ในสภาพเอียงตามไปด้วย ทำให้เกิดปัญหาการรับน้ำหนักอาคารภายหลังจากทำการเจาะเสาเข็มบ้าน/อาคารไปแล้ว
โดยทั่วไปในการเริ่มต้นทำฐานราก, ตอกเสาเข็มและลงเสาเข็มก่อนก่อสร้างบ้าน วิศวกรมักเลือกใช้เสาเข็มตอก เพราะอันดับแรกคือมีราคาถูกกว่าเสาเข็มเจาะและสามารถตรวจสอบคุณภาพหลังการตอกเสาเข็มได้ง่ายกว่า แต่เสาเข็มตอกเองก็มีข้อเสียเช่นกันคือไม่สามารถขนส่งเสาเข็มเข้ามาในพื้นที่ก่อสร้างได้หากแคบเกินไป อีกทั้งการตอกเสาเข็มด้วยวิธิการใช้เสาเข็มตอกยังทำให้เกิดการเสียงดังและแรงสั่งสะเทือน ซึ่งอาจทำให้บ้านที่อยู่ติดๆกันแตกร้าว จนอาจะทำให้รากฐานหรือโครงสร้างของบ้านข้างๆนั้นร่วมตามไปด้วยได้ ซึ่งหากการตอกเสาเข็มนั้นมีพื้นที่จำกัดเราก็อาจจะหลีกเลี่ยงไปใช้เสาเข็มเจาะที่มีราคาแพงกว่า แต่ต้องมีการควบคุมคุณภาพให้ดีหลังจากทำการตอกเสาเข็มบ้าน/อาคารไปแล้ว
สำหรับหน้าที่ในการเลือกใช้เสาเข็ม และการตอกเสาเข็มบ้าน/อาคารนั้นส่วนใหญ่ทางทีมงานของวิศวกรผู้ออกแบบบ้านจะเป็นผู้กำหนดไว้เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆที่จะถูกระบุไว้ในแบบบ้าน (เรียกว่าพิมพ์เขียว) สิ่งสำคัญก็คือ ดูให้มั่นใจว่าเสาเข็มมีจำนวนครบถ้วน มีขนาดและความยาวตามที่กำหนดไว้ในแบบหรือไม่ก่อนเริ่มลงมือในการตอกเสาเข็มบ้าน/อาคาร หรือเสาเข็มกด อีกทั้งตัวเสาเข็มที่จะนำมาทำโครงสร้าง/รากฐานของบ้านหรืออาคารนั้นตัวของเสาเข็มควรมีอายุอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 7 วัน และต้องมั่นใจว่าความแข็งแรงมีมากพอในแต่ละต้นสำหรับการต่อเสาเข็ม (กรณีที่ใช้ความยาวมากก็ต้องทำการต่อเสาเข็ม)
โดยการต่อเสาเข็มตอกตามหลักของวิศวกรรมนั้น มี 2 วิธี คือ
1. การต่อปลอกของเสาเข็ม คือ การต่อเสาเข็มโดยการใช้ปลอกเหล็กที่มีขนาดพอเหมาะกับขนาดของเสาเข็ม แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้เนื่องจากผิดพลาดได้ง่ายและมีความเสี่ยงสูง
2. การต่อเสาเข็มแบบตอกด้วยหลักการทางวิศวกรรมคือการเชื่อมด้วยไฟฟ้า มีวิธีนี้จะต้องควบคุมการเชื่อมต่อให้รอยเชื่อมรอบเสาเข็มและหน้าสัมผัสของเสาเข็มที่ต้องการต่อแนบกันอย่างสนิท เพราะตัวเสาเข็มนั้นต้องนำไปรับน้ำหนัก
3. การต่อเสาเสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง หรือ เข็มสปัน (SPUN MICRO PILE)" เป็นเสาเข็มที่ผลิตโดยใช้ กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีต มีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 21 เซนติเมตรนำเสามาเชื่อมต่อกัน โดยใช้วิธีการตอกเสาเข็มชนิดนี้ด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา(Drop Hammer System) ทำให้มันช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มากเสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคาร ที่พักอาศัยโรงงาน และงานปรับปรุงโครงสร้าง ที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง
ความจำเป็นของการเสริมฐานรากหรือการตอกเสาเข็มของบ้าน/อาคาร นั้นมีดังข้อต่างๆต่อไปนี้
1. ทำเพื่อให้อาคารนั้นทำเพื่อรองรับโครงสร้างอาคารที่เกิดปัญหาจากการทรุดตัวและจมลงไปในดิน
2. ทำเพื่อให้อาคารนั้นทำเพื่อหยุดยั้งและป้องกันการทรุดตัวของโครงสร้างบ้าน/อาคารเนื่องจากมีการขุดดินใต้ระดับฐานรากของอาคารในบริเวณใกล้เคียง หรือเกิดกรณีรากฐานไม่แข็งแรง และทำให้รากฐานของบ้านมั่นคงที่สุด
3. ทำเพื่อให้อาคารนั้นทำเพื่อค้ำยันโครงสร้างอาคาร หรือรากฐานหลักของบ้าน/อาคาร
4. ทำเพื่อให้อาคารนั้นทำเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ฐานรากที่อยู่ลึก ๆ ตัวอย่างเช่น การก่อสร้างฐานรากสิ่งปลูกสร้างใต้อาคารหรือห้องใต้ดินที่ต้องใช้รากฐานหรือการเจาะเสาเข็มไมโครไพล์ขนาดใหญ่
5. ทำเพื่อให้อาคารนั้นทำเพื่อเพิ่มขนาดฐานราก ทำให้รากฐานของบ้าน/อาคารนั้นสามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น เช่นการต่อเติมเพิ่มชั้นอาคาร/บ้าน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นที่ต้องใช้การตอกเสาเข็ม หรือเสาเข็มกด
6. ทำเพื่อให้อาคารนั้นทำเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับอาคาร/บ้านทำให้สามารถรองรับแรงกระแทกจากชิ้นส่วนอื่นๆที่อยู่เหนือฐานรากขึ้นไปได้
ชนิดของเสาเข็มที่ใช้กันในปัจจุบัน
1. เสาเข็มตอกเป็นการนำเสาเข็มลงไปในดินด้วยการใช้น้ำหนักตอกลงบนหัวเข็มเสาเข็มชนิดนี้เสาเข็มที่ตอกลงไปจะเข้าไปแทนที่ดินทำให้มีการเลื่อนและเคลื่อนตัวของชั้นดิน โดยเสาเข็มตอกนั้นจะทำมาจากวัสดุที่เป็นเหล็กจึงทำให้มีราคาขายค่อนข้างแพง ทำให้ไม่นิยมใช้ในการทำโครงสร้าง/รากฐานหลัก แต่มักจะใช้ในกรณีของการซ่อมบ้านเสียมากกว่า
2. เสาเข็มเจาะนิยมใช้เจาะเสาเข็มบ้าน/อาคารในบริเวณที่มีการก่อสร้างอยู่ติดกับอาคารข้างเคียง เพราะข้อดีของเสาเข็มเจาะคือสร้างความกระทบกระเทือนต่ออาคารใกล้เคียงน้อย มีหลักการง่ายๆสำหรับการเจาะเสาเข็มบ้าน/อาคารตคือจะเป็นการเจาะเอาดินออกมาจนถึงระดับที่ต้องการโดยใช้ปลอกเหล็กป้องกันดินพังแล้วจึงใส่เหล็กเสริมลงไปและเทคอนกรีตจนเต็มหลุมเจาะแทนที่ดินที่ถูกนำออกมา
โดยการเจาะเสาเข็มโดยวิธีใช้เสาเข็มเจาะเองก็แบ่งออกได้หลายประเภทตามวิธีการทำงานดังนี้
1. เสาเข็มเจาะระบบเปียก ซึ่งการตอกเสาเข็มประเภทนี้นั้นใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อยกว่าเสาเข็มตอกจึงใช้ได้ดีกับการก่อสร้างในพื้นที่แคบๆ แต่งานระบบนี้จะค่อนข้างซับซ้อน
2. เสาเข็มเจาะระบบแห้ง นิยมใช้กันทั่วไปในงานก่อสร้างเช่นบ้านพักอาศัยทั่วไปเพราะเป็นระบบที่ง่ายไม่ต้องใช้เครื่องมือมากในการเจาะเสาเข็มบ้าน/โครงสร้างฐานหลัก
3. เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์ (Micro pile) เป็นเสาเข็มเจาะขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 25 เซนติเมตรเสาเข็มขนิดนี้แม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็มักจะมีราคาแพงเนื่องจากใช้เทคนิคที่พิเศษกว่าแบบอื่น ๆใช้มากในงานซ่อมแซมอาคาร หรือต่อเติมบริเวณที่มีพื้นที่ในการทำงานน้อย ๆ
คุณสมบัติเด่นของเสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์ ( SPUN MICRO PILE)
1. เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์นั้นสามารถทำงานในพื้นที่คับแคบได้เนื่องจากใช้หน้างานขนาดเล็กไม่ใหญ่มากนัก
2. การใช้วิธีการเจาะเสาเข็มแบบการใช้เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์นั้นจะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง, สะดวกในการเจาะเสาเข็ม, หน้างานสะอาดเนื่องจากไม่มีดินโคลนที่ขุดขึ้นมา อีกทั้งยังแข็งแรงและทนทานอีกด้วย
3. การเจาะเสาเข็มกดนั้นสามารถตอกได้ลึกตามความเป็นจริงเนื่องจากเสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์นั้นใช้เทคโนโลยีการเจาะเสาเข็มระดับสูง
4. เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์มีมาตรฐานรองรับทำให้สามารถคำนวนโครงสร้างรากฐานเพื่อออกแบบให้รับน้ำหนักตามที่วิศวกรออกแบบไว้
5. เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์สามารถตอกชิดกำแพง ผนังบ้านได้เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าเสาเข็มปกติทั่วไป
ข้อดีเสาเข็มแบบเจาะ
- สามารถลดการสั่นสะเทือน
- ใช้พื้นที่น้อยในการทำงาน
- รับน้ำหนักได้ดี
- เหมาะกับงานทุกชนิด
- ลดเวลาการก่อสร้าง
- ลดปัญหามลพิษ
ข้อเสียเสาเข็มแบบตอก
- เกิดแรงสั่นสะเทือน
- ใช้พื้นที่กว้าง
- เสียงดัง
- เกิดผลกระทบกับอาคารไกล้เคียง
- มีข้อกําจัดในบางอาคาร