ความแตกต่างของเสาเข็มตอก vs เสาเข็มเจาะ
ใราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าในการตอกเสาเข็มและการเจาะเสาเข็มถ้าตอกหรือเจาะในพื้นที่แคบๆ ก็จะใช้เสาเข็มไมโครไพล์เพราะว่า เสาเข็มไมโครไพล์ จะใช้ในการก่อสร้างน้อยกว่าเสาเข็มนี้จึงใช้ได้ดีกับการก่อสร้างในพื้นที่แคบๆและมีการจัดกัดของพื้นที่เนื่องจากเสาเข็มแบบนี้นั้นเวลาเจาะและตอกจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่านะค่ะ ก่อนอื่นเรามาดูกันเลยว่าเสาเข็มมีกี่ประเภท
เสาเข็มแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
นั่นคือเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอก เสาเข็มทั้ง2ชนิดนี้มีการเลือกใช้งานที่แตกต่างกัน ลองมาดูกันนะคะว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มเจาะจะมี2แบบ คือเสาเข็มเจาะเปียกกับ เสาเข็มเจาะแห้ง ขบวนการหลักจะเน้นเสาเข็มหล่อในสถานที่ก่อสร้าง โดยทั่วไปจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 35 ,40 ,50 ,60 ,80 ,100 ซ.ม. สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป จะใช้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 ซ.ม. เจาะไปถึงชั้นทราย โดยทั่วไปบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะเจาะลึกถึง 18-24 ม.แล้วแต่สภาพพื้นที่ ต้นหนึ่งรับน้ำหนักปลอดภัยได้ประมาณ 35 ตัน
เสาเข็มตอก
คำว่าตอก คือใช้กำลังตอกลงไป อาจใช้กำลังคน หรือเครื่องจักรก็ได้ มีทั้งเสาเข็มแบบตันและแบบกลวง ถ้าเป็นเสาเข็มกลมกลวง สามารถรับแรงได้มากกว่าเสาเข็มแบบ เวลาตอกส่วนใหญ่จะขุดเป็นหลุมก่อนแล้วกดเสาเข็มลงไป พอถึงระดับที่ต้องการจึงจะเริ่มตอกการตอกเสาเข็มโดยใช้เสาเข็มเจาะเปียก ซึ่งการ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ประเภทนี้นั้นใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อยกว่าเสาเข็มตอก
เสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอก
จึงแตกต่างกันที่วิธีการ ขนาด และก็ผลต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดรวมไปจนถึงเรื่องของราคา เสาเข็มเจาะคือการเจาะดินลงไปก่อนแล้วจึงหย่อนเสาลงไป ราคาแพง แต่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า คุณภาพอาจไม่ทนทานเท่าเสาเข็มตอก ส่วนเสาเข็มตอกนั้นไม่ต้องเจาะดินก่อน แต่ใช้กำลังคนหรือเครื่องจักรตอก ราคาถูกว่าเสาเข็มเจาะ ทนทานมากกว่าเสาเข็มเจาะ แต่การขนย้ายอุปกรณ์ค่อนข้างลำบาก และที่สำคัญคือมีเสียงน่ารำคาญกระทบต่อบริเวณใกล้เคียงเป็นอย่างมาก