การรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์
การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) เป็นที่ยอมรับทั่วไปและมีมาตรฐานรองรับ ได้แก่ ASTM D4945-96 นอกจากนั้น การทดสอบดังกล่าวมีข้อดีหลายประการ เช่น
สามารถทำการทดสอบได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ เสาเข็มหลายต้นสามารถทําการทดสอบได้ในวันเดียว
ต้องการพื้นที่รอบๆ เสาเข็มไม่มากนักในการเตรียมการทดสอบ
ผลการทดสอบให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับเสาเข็มในเรื่องของกําลังรับน้ําหนักและความสมบูรณ์ของเสาเข็ม
เป็นการทดสอบที่ประหยัดค่าใช้จ่าย
อุปกรณ์วัดสัญญาณ จะวัดสัญญาณและแสดงผลในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงแรงเทียบกับเวลาและการเปลี่ยนแปลงความเร็วเทียบกับเวลา โดยอุปกรณ์หลักจะประกอบไปด้วยหัววัดสัญญาณ 2 แบบ ได้แก่
เซนเซอร์ความเครียด (Strain Transducer)
เซนเซอร์ความเร็ว (Accelerometer)
การทดสอบการรับน้ําหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test)
ติดตั้ง Strain Transducer และ Accelerometer อย่างละ 2 ชุด จะต้องติดตั้งตําแหน่งบริเวณหัวเสาเข็มบนด้านตรงข้ามซึ่งกันและกัน ตำแหน่งที่ติดตั้งจะต่ำกว่าหัวเสาเข็มประมาณ 1.5 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็ม บางครั้งขั้นตอนการติดตั้งอาจจะมีความจำเป็นต้องขุดดินบริเวณรอบเสาเข็มซึ่งจุดดังกล่าวจะต้องสะอาดและปราศจากน้ำท่วมขัง
ตุ้มน้ำหนักและระยะยก น้ำหนักของลูกตุ้มที่ใช้นั้นควรดูตามความเหมาะสมของขนาดเสาเข็มและกําลังรับน้ำหนัก
ระยะยกเพื่อปล่อยตุ้ม จะถูกกำหนดตามประสบการณ์ของวิศวกรผู้ชำนาญการในงานทดสอบ
การบันทึกสัญญาณ หลังการทดลองปล่อยตุ้มด้วยระยะยกสั้นๆ พร้อมตรวจสอบสัญญาณเสร็จก็เริ่มทําการทดสอบได้โดยปล่อยตุ้มด้วยระยะยกที่เหมาะสมให้เสาเข็มเกิดการทรุดตัวถาวรประมาณ 3 มิลลิเมตร ค่าการทรุดตัวถาวรที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งในการปล่อยตุ้มกระแทกสามารถวัดได้โดยใช้กล้อง Theodolite
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ด้วยผลการทดสอบ อาศัยหลักการเคลื่อนที่ของคลื่นในทันทีหลังการทดสอบ Pile Driving Analysis (PDA) จะคํานวณค่ากําลังรับน้ําหนักบรรทุกของเสาเข็มด้วย Case-Method