ก่อนต่อเติมบ้าน

ก่อนต่อเติมบ้าน

เรื่องควรรู้ก่อนต่อเติมบ้านใหม่

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและกาลเวลา ก็เหมือนกับบ้านที่เราซื้อมาใหม่ หรืออยู่อาศัยมาพักหนึ่งแล้ว เราก็ต้องการต่อเติมเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เหมาะสมกับบรรยากาศในบ้านของท่านให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น เนื่องจากพื้นที่ส่วนที่ต่อเติมมักเป็นพื้นที่จำกัด และต้องคำนึงถึง สภาพปัจจุบันของตัวบ้าน ตลอดจนสภาพพื้นที่ส่วนที่จะต้องการ ต่อเติม ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำงาน การเลือกใช้ระบบของ เสาเข็มไมโครไพล์ การขนย้ายวัสดุก่อนสร้าง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วบริเวณ รอยต่อของอาคารเดิมและส่วนต่อเติม

ตรวจสอบตัวอาคารบ้านเดิมพื้นที่โดยรอบก่อนต่อเติม

ก่อนการดำเนินการใดๆ ในการต่อเติมต้องมีการตรวจเช็คโครงสร้างเดิมก่อน โครงการบางที่อาจมีการก่อสร้างตัวบ้านบนที่ดินที่เคยเป็นแหล่งน้ำมาก่อน ทำให้มีการทรุดตัวของพื้นดินบริเวณนั้น หรือกรณีที่ไม่มีการทรุดตัวก่อนการต่อเติม แต่ภายหลังการต่อเติมอาจจะมีเกิดการทรุดตัวเกิดขึ้นก็ได้ และต้องดูพื้นที่ให้เหมาะแก่การตอกเสาเข็มลงไปเพื่อเป็นรากฐานในส่วนของการต่อเติม ซึ่งนั้นหมายถึงต้องมีการเตรียมตัวไว้ให้พร้อม

กฎหมาย

การต่อเติมหรือดัดแปลง ลองอ่านรายละเอียดต่อไปนี้ดูนะคะ จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากทางราชการ

1. การลด หรือการขยายเนื้อที่ของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร
2. การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคารวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร
3. การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง
4. การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของบ้าน
5. การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของบ้าน

กรณีที่มีการขัดแย้งกับเพื่อนข้างบ้าน

หากบ้านใดมีพื้นที่มากพอจนสามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้ เจ้าของบ้านก็ยังคงต้อง รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างต่อบ้านข้างเคียงด้วยเช่น แรงสั่นสะเทือนจากการ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ แต่เสาเข็มนี้จะเกิดควาสั่นสะเทือนน้อย และการเคลื่อนตัวจากการขุดดิน ปัญหาเสียง หรือ ฝุ่นผง ซึ่งหากมีปัญหาจนบ้านข้างเคียงรับไม่ได้ อาจเกิดการฟ้องร้อง

รูปแบบการออกแบบส่วนต่อเติม

ในรูปแบบโดยทั่วไปการออกแบบบ้านผู้ออกแบบควรจะต้องคำนึงการระบายอากาศ แสงสว่าง ตลอดจน ความปลอดภัยเมื่อเกิดปัญหาเพลิงไหม้