ข้อมูลพื้นดินกับการเลือกใช้เสาเข็ม
จำนวนเสาเข็มที่จะใช้งาน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่างเช่น น้ำหนักตัวอาคาร,สภาพดิน,ขนาดของพื้นที่ กว้าง ยาว เท่าไหร่,การออกแบบของทีมงานผู้ออกแบบโครงสร้างเป็นต้น จำนวน เสาเข็มไมโครไพล์ ที่จะใช้ย่อมให้เหมาะสมกับองค์ประกอบต่างๆ ถ้าจำนวนเสาเข็มเหมาะสมพอดีกับองค์ประกอบต่างๆ เหล่านั้นและ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ได้มาตรฐาน โอกาสที่บ้านจะทรุดตัวก็น้อยลง แต่ถ้าจำนวนเสาเข็มน้อยไป การรับน้ำหนักก็จะไม่ดีพอ หรือถ้าจำนวนเสาเข็มมากเกินความจำเป็นก็จะสิ้นเปลืองโดเปล่าประโยชน์ การที่เราจะใช้เสาเข็มจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้น ให้ปรึกษากับทีมเขียนแบบหรือช่างผู้ที่ทำงานโครงสร้าง เพราะว่าท่านเหล่านั้น จะรู้ว่าควรใช้ เสาเข็ม แต่ละต้นรับน้ำหนักประมาณกี่ตัน และควรจะใช้เสาเข็มกี่ต้น เสาเข็มที่จะใช้งานมีขนาดเท่าไหร่ ความลึกที่ตอกลงดินประมาณกี่เมตร เป็นต้น ทางเจ้าของบ้านจะได้มีข้อมูลเพื่อไปคุยกับบริษัทที่รับตอกเสาเข็มได้ และให้สอบถามไปยังบริษัทที่รับตอกเสาเข็มอีกครั้งเพื่อเป็นการประเมินเรื่องน้ำหนักของเสาเข็มที่สามารถรับน้ำหนักได้ และเรื่องความลึกโดยประมาณ เพราะว่าแต่ละพื้นที่มีสภาพที่ดินที่แตกต่างกัน ย่อมมีความลึกที่จะตอกเสาเข็มลงไปแตกต่างกัน
ประเภทของดินที่ตอก
- ดินทรายเป็นดินที่ไม่มีการยึดเกาะของเม็ดดิน ดังนั้นเม็ดดินแต่ละเม็ดจะเคลื่อนหลุดจากกันได้ง่ายและน้ำไหลผ่านได้สะดวกแต่ในสภาวะถูกจำกัดขอบเขตไม่สามารถเคลื่อนไถลไปทางใดได้ดินทรายจะรับแรงแบกทานได้ดีทั้งนี้ต้องคำนึงว่ากระบวนการทำเสาเข็มนั้น ๆ จะไม่ทำให้ทรายเคลื่อนไหลกลายเป็นสภาพหลวมกว่าเดิม
- ดินเหนียวมีแรงยึดเกาะเม็ดดินดีกำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียวจะขึ้นอยู่กับบริเวณความชื้นในดินยิ่งความชื้นในดินมีมากเท่าใดกำลังของดินจะยิ่งลดต่ำลง
- ควรกำหนดให้ปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินชนิดเดียวกันทั้งอาคารไม่ใช่กำหนดให้เสาเข็มยาวเท่ากันเพราะการที่ เสาเข็ม ยาวเท่ากันปลายเสาเข็มอาจอยู่ในดินต่างชนิดดันได้ เช่น ปลายเสาเข็มบางส่วนของอาคารอยู่ในดินอ่อนในขณะปลายเสาเข็มส่วนอื่นของอาคารอยู่ในดินแข็งหรือทรายแน่น ลักษณะนี้ทำให้การทรุดตัวไม่เท่ากัน
- ควรให้น้ำหนักบรรทุกที่กดลงเสาแต่ละต้น มีค่าใกล้เคียงกันเพื่อไม่ให้ความเค้นในดินมีความแตกต่างกัน