บริการธนกฤตเข็มเจาะ
- รับเจาะสำรวจชั้นดิน พร้อมรายการคำนวณน้ำหนัก
- รับวางผัง
- รับทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Siesmic Test) โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
- รับงานทั่วประเทศ
- รับขนย้ายโดยรถ 6 ล้อ ติดเครน
- ยินดีให้ข้อมูลและรับปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับงานเข็มเจาะ
- รับประเมินราคาเข็มเจาะ
- งานฐานรากที่มีพื้นที่จำกัดคับแคบ เช่น ในตัวอาคาร ใต้อาคาร ฯ
- งานฐานรากขยายต่อเติมจากอาคารเดิม
- งานฐานรากรับน้ำหนักเครื่องจักร
- งานแก้ไขฐานรากอาคารโดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม
หมายเหตุ : แบบรายละเอียดของเสาเข็มที่แสดงนี้เป็นแบบมาตรฐานสำหรับเสาเข็มที่รับแรงอัดเป็นหลัก ในกรณีที่ต้องการให้เสาเข็มรับแรงดึง แรงด้านข้าง หรือโมเมนต์ จะต้องทำการออกแบบใหม่
- ความสูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 3 เมตร
- เมื่อเจาะถึงระดับชั้นทรายต้องหยุดเจาะ
- เมื่อเจาะเจอชั้นน้ำต้องหยุดเจาะทันทีแม้ว่าจะยังไม่ถึงชั้นทรายก็ตาม
- พื้นที่เจาะต้องอยู่ในแนวระนาบเรียบ
- พื้นที่ต้องไม่เป็นดินเลนโคลนลึก
- เมื่อเจาะเจอเสาเข็มเก่าหรือสิ่งกีดขวางต้องทำการย้ายหมุดศูนย์เข็ม
ยก ดีด ย้าย บ้าน/อาคารต่างๆ
ยกปรับระดับอาคาร
Lifting
ในการปรับยกระดับอาคารนี้ สามารถปรับยกได้ 2 แบบ
แบบที่ 1. การปรับยกแบบเสริมฐานราก การปรับยกอาคารแบบเสริมฐานรากนี้เกิดจากฐานรากเดิมทรุดตัวและบ้านเอียงหรือเสาเข็มหัก ต้องทำการเสริมเสาเข็มเสียก่อนถึงจะทำการปรับยกอาคารได้ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่สามารถยกได้ง่ายเพราะได้เสริมเข็มความแข็งแรงกับตัวฐานรากแล้ว จึงมีความปลอดภัยในการยกบ้าน
แบบที่ 2. การปรับยกอาคารแบบไม่ต้องเสริมเสาเข็ม ในกรณีนี้ คือ การปรับยกโดยที่บ้านไม่ทรุดเอียงหรือตัวบ้านไม่ได้มีคามเสียหาย แต่ลูกค้าต้องการยกตัวบ้านให้สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ต้องมีการตรวจสอบและดูหน้างานจากช่างที่ชำนาญงานก่อนการทำงาน
* หมายเหตุ วิธีการปรับยกตัวอาคารแต่ละขั้นตอนต้องมีช่างที่ชำนาญการและมีประสบการณ์ในเฉพาะทางเท่านั้น จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าขณะปฏิบัติงานได้
งานเสริมฐานรากอาคาร
ในการแก้ไขการทรุดตัวของอาคาร ด้วยวิธีการเสริมฐานราก (Underpinning) กำหนดให้มีขั้นตอนดำเนินงานดังต่อไปนี้
- จัดเตรียมสถานที่, ขนย้ายวัสดุ - เครื่องมือ
- จัดเตรียมสถานที่หน้างาน โดยการกั้นเขตพื้นที่ในการทำงานให้ชัดเจน เพื่อ สะดวกในการปฏิบัติงาน, การรักษาความปลอดภัย, การรักษาความสะอาด
- จัดเตรียม ขนย้ายวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เข้าหน่วยงาน ให้พร้อมก่อนเริ่มดำเนินงาน
- ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าและน้ำประปา แยกจากส่วนของอาคาร
- งานขุดดินและขนย้ายดินออกใน การเสริมฐานราก (Underpinning) และยกปรับระดับอาคารให้ดำเนินงานอยู่ภายใต้ อาคาร โดยที่ผู้อยู่อาศัยเดิมสามารถใช้งานอาคารได้ตามปกติและไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อวัสดุตกแต่งในอาคารที่ได้ติดตั้งไปแล้ว โดยในระหว่างดำเนินงานเมื่อมีการขุดดิขึ้นมามากจะต้องขนย้ายดินออกไปบาง ส่วนเพื่อให้มีพื้นที่ว่างในการทำงาน และป้องกัน ปัญหาดินพังทลาย
- การปรับยกอาคารแบบไม่ต้องเสริมเสาเข็ม
- การเสริมเสาเข็ม Micro Pile
- เตรียมเสาเข็ม Micro Pile โดยการตัดท่อเหล็กกลมกลวงเป็นท่อน ๆให้ได้ความยาว ท่อนละประมาณ 1 เมตร ทาสีกันสนิมชนิดRED OXIDE 2 ชั้น และทำการปิดปลายท่อของเสาเข็มท่อนแรกที่ใช้ในการกดแต่ละต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ดินเข้าไปอุดอยู่ในเสาเข็ม
- ทำการติดตั้งชุดแม่แรงไฮดรอลิก สำหรับใช้ในการกดเสาเข็ม Micro Pile
- ดำเนินการเสริมเสาเข็ม Micro Pile โดยใช้แม่แรงไฮดรอลิกกดเสาเข็มเหล็กทีละท่อนๆ ความยาวท่อนละประมาณ 1 เมตร จนได้ระดับความลึกที่ต้องการ (พิจารณาจากผลการทดสอบ Parallel Seismic Test) โดยทำการต่อเสาเข็มแต่ละท่อนด้วยวิธีการเชื่อมไฟฟ้า
- กดเสาเข็ม Micro Pile จนได้ระดับความลึกที่ต้องการ ซึ่งจะสามารถทราบกำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มเบื้องต้นได้ทันทีจากค่าที่อ่านได้จาก Pressure Gauge โดยนำไปสอบทานกับแผนภูมมาตรฐานที่ได้ทำการปรับค่า จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอ เซียหรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากกรณีที่กดเสาเข็มจนได้ระดับความลึกตามผลทดสอบเสาเข็มเดิม Parallel Seismic Test แล้วค่ากำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มยังไม่ถึง 20 ตัน ต้องแจ้งกลับมายังผู้ออกแบบเพื่อทำการแก้ไขต่อไป
- ทำการกรอกคอนกรีตเหลวลงไปในปลอกเหล็ก เพื่อป้องกันปัญหาการกัดกร่อนของสนิมเหล็กในภายหลัง
- งานประกอบฐานราก
- ค้ำยันเสาเข็ม Micro Pile กับโครงสร้างอาคาร
- ตัดเสาเข็มเดิมทิ้งเพื่อถ่ายน้ำหนักของอาคารไปสู่เสาเข็มใหม่
- ดำเนินการประกอบฐานรากใหม่เข้ากับเสาเข็ม Micro Pile ตามแบบซ่อมแซม
- การยกปรับระดับอาคาร
- ภายหลังจากทำการเสริมเสาเข็มและประกอบฐานรากเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการถ่าย น้ำหนักจากฐานรากเดิมสู่ฐานรากใหม่ทุกฐาน และเพื่อตรวจสอบว่าเสาเข็มและฐานรากใหม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามแบบ
- ดำเนินการยกปรับระดับอาคารด้วยแม่แรงไฮดรอลิกพร้อมทำการตรวจสอบค่าระดับให้เหมาะสมกับการปรับระดับของฐานรากแต่ละฐาน
- ถมดินกลับคืน, เก็บงานและทำความสะอาด
- ขนดินกลับเข้ามาถมใต้อาคาร
- ซ่อมแซมรอยร้าวของอาคารให้กลับคืนสู่สภาพการใช้งานได้ตามปกติ
- เก็บงานและทำความสะอาดพื้นที่ให้เรียบร้อย
การยกปรับระดับ และงานเลื่อนอาคาร ภายหลังจากการแก้ไขปัญหา อาคารทรุดตัว หรือ ทรุดตัว แตกตัวต่างกันหรือความเสียหารของฐานรากอาคาร จากปัญหาต่างๆที่ทำให้ฐานรากอาคารไม่มั่นคงแล้วเสร็จ โดยการเสริมฐานรากอาคารเมื่อเสริมฐานรากอาคารแล้วเสร้จ อาคารยังเอียงตัว แตกร้าว หรือไม่อยู่ในระนาบที่ยอมรับได้ทาง ฐานสมบูรณ์ จะจัดการยก ปรับ ระดับอาคาร ด้วยการตัดเสาต่อหม้ออก แล้วใช้แม่แรงไฮดรอริค ยกปรับระดับอาคารขึ้น โดยการกระทำพร้อมๆกันทั้งหลังแต่ละตำแหน่งของการยกแต่ละตำแหน่งของการยก มาก หรือ น้อย ขึ้นอยู่กัยสภาพลาดเอียงของตัวอาคาร ซึ่งจะควบคุมการยกระดับอาคารด้วย มุมปิด ( Angular Distortion ) เพื่อไม่ให้เกิดแรงดัดในส่วนใดส่วนหนึ่งมากจนเกินไป จนทำให้องค์อาคารเกิดการแตกร้าวได้
์
ข้อดีเสาเข็มแบบเจาะ
- สามารถลดการสั่นสะเทือน
- ใช้พื้นที่น้อยในการทำงาน
- รับน้ำหนักได้ดี
- เหมาะกับงานทุกชนิด
- ลดเวลาการก่อสร้าง
- ลดปัญหามลพิษ
ข้อเสียเสาเข็มแบบตอก
- เกิดแรงสั่นสะเทือน
- ใช้พื้นที่กว้าง
- เสียงดัง
- เกิดผลกระทบกับอาคารไกล้เคียง
- มีข้อกําจัดในบางอาคาร