บริการธนกฤตเข็มเจาะ
- รับเจาะสำรวจชั้นดิน พร้อมรายการคำนวณน้ำหนัก
- รับวางผัง
- รับทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Siesmic Test) โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
- รับงานทั่วประเทศ
- รับขนย้ายโดยรถ 6 ล้อ ติดเครน
- ยินดีให้ข้อมูลและรับปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับงานเข็มเจาะ
- รับประเมินราคาเข็มเจาะ
- งานฐานรากที่มีพื้นที่จำกัดคับแคบ เช่น ในตัวอาคาร ใต้อาคาร ฯ
- งานฐานรากขยายต่อเติมจากอาคารเดิม
- งานฐานรากรับน้ำหนักเครื่องจักร
- งานแก้ไขฐานรากอาคารโดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม
หมายเหตุ : แบบรายละเอียดของเสาเข็มที่แสดงนี้เป็นแบบมาตรฐานสำหรับเสาเข็มที่รับแรงอัดเป็นหลัก ในกรณีที่ต้องการให้เสาเข็มรับแรงดึง แรงด้านข้าง หรือโมเมนต์ จะต้องทำการออกแบบใหม่
- ความสูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 3 เมตร
- เมื่อเจาะถึงระดับชั้นทรายต้องหยุดเจาะ
- เมื่อเจาะเจอชั้นน้ำต้องหยุดเจาะทันทีแม้ว่าจะยังไม่ถึงชั้นทรายก็ตาม
- พื้นที่เจาะต้องอยู่ในแนวระนาบเรียบ
- พื้นที่ต้องไม่เป็นดินเลนโคลนลึก
- เมื่อเจาะเจอเสาเข็มเก่าหรือสิ่งกีดขวางต้องทำการย้ายหมุดศูนย์เข็ม
ซ่อมแซมโครงสร้าง
ซ่อมแซมและเสริมความแข็งแรงให้แก่โครงสร้างอาคาร
Structural Rehabilitation
วิธีการซ่อมแซมเสริมความแข็งแรงให้แก่โครงสร้างนั้น เป็นวิธีการแก้ไขอาคารที่เสื่อมคุณภาพหรืออาคารที่มีอายุการใช้งานนานมากกว่า 30 ปีหรือเกิดจากการหล่อโครงสร้างในตอนแรกไม่ดี ทำให้โครงสร้างเกิดความเสียหายและรับน้ำหนักของตัวอาคารเองไม่ได้ ทำให้ต้องปรับปรุงซ่อมแซม การปรับปรุงซ่อมแซมนั้น ทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมกันมากคือ เสริมเหล็กและเทหุ้มด้วยปูนก่อสร้างที่มีกำลังสูง ตั้งแต่ 650 หรือ 700 กรัม ปูนชนิดนี้เป็นปูนที่มีกำลังอัดสูงและสามารถรับน้ำหนักได้เร็วกว่าปูนโครงสร้างทั่วไป
*หมายเหตุ การซ่อมแซมโครงสร้างต้องมีช่างซ่อมที่ชำนาญงานและมีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อที่จะได้ทำงานได้ดีและถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
(1) ดินชั้นบนมีลักษณะเป็นดินทรายปนดินตะกอน (Siltysand) สีน้ำตาลแดง สภาพหลวม ถึงปานกลางมีความหนาประมาณ 4-8 เมตร
(2) ดินชั้นถัดไปเป็นดินทรายปนดินตะกอน และกรวด มีความเหนียวเล็กน้อย สภาพแน่นถึงแน่นมาก มีความหนาประมาณ 6-16 เมตร
(3) ดินชั้นถัดไปเป็นดินเหนียวปนดินตะกอน (Silty clay)สีแดงปนน้ำตาล มีส่วนผสมของกรวดและทรายปนอยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งคุณสมบัติของดินนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณความชื้น เนื่องจากดินมีอัตราส่วนโพรงสูงจะทำให้น้ำซึมผ่านได้ดี จึงทำให้ความชื้นแทรกซึมเข้าสู่โครงสร้างดินได้อย่างรวดเร็ว ผลการทดสอบการรับน้ำหนักสูงสุดของดินโดยใช้แผ่นเหล็กกด พบว่าการเพิ่มความชื้นในดินจาก 9% เป็น 15% ในขณะที่มีหน่วยแรงกดจะทำให้เกิดการทรุดตัวอย่างรวดเร็ว และความสามารถรับน้ำหนักสูงสุดของดินจะลดลงประมาณ 40% นอกจากนี้ยังพบว่าดินสามารถเกิดการวิบัติ (Collapse) ได้ด้วยน้ำหนักตัวเองถ้าหากดินได้รับความชื้นในปริมาณที่มากพอ
2.3 การทรุดตัวของอาคารจากรายงานการสำรวจข้อมูลอาคาร ประเภทกลุ่มอาคารสำนักงาน อาคารเรียนและที่พักอาศัย พบว่าเป็นอาคารที่มีฐานรากชนิดฐานแผ่จำนวน 149 หลัง (66%) เป็นอาคารเก่าแก่และมีปัญหาการชำรุดเนื่องจากการทรุดตัวของฐานรากแผ่ 62หลัง (27%) การก่อสร้างอาคารฐานรากแผ่ ตามปกติความลึกของระดับฐานรากอยู่ต่ำกว่าผิวดินเดิมประมาณ 1.5-3.0 เมตร ซึ่งฐานรากจะวางบนชั้นดินทรายปนดินตะกอน อาคารที่มีปัญหาการทรุดตัว ก็จะเป็นอาคารฐานรากแผ่ที่วางบนชั้นดินทรายปนดินตะกอนนี้ ปัญหาการทรุดตัวของอาคาร จะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเมื่อฐานรากเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรอยแตกร้าวขึ้นบนผนังอิฐก่อ และอาจรุกลามเข้าไปในโครงสร้างเสาและคานหากรอยแตกร้าวที่เกิดพัฒนาเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ปัญหาการชำรุดวิบัติมีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อฐานรากอาคารเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากันองค์อาคารส่วนที่ยึดติดกับฐานรากได้แก่ เสา คานและผนังจะมีแรงกระทำในระดับสูงมาก ทั้งแรงดัด แรงเฉือนและแรงบิดจนเกินกว่าค่า ความเค้นที่องค์อาคารสามารถรับได้ จึงทำให้เกิดรอยแตกร้าวต่าง ๆ ขึ้น ลักษณะรอยแตกร้าวที่เกิดจากการทรุดตัว รอยแตกร้าวจะเอียงเป็นเส้นทแยงมุมประมาณ 45o กับแนวระนาบบนผนังปูน ผนังก่ออิฐ หรือหัวเสา โดยจะเอียงทแยงลงไปทางเสาที่ฐานรากทรุดตัวมาก ขนาดความกว้างของรอยแตกจะขึ้นกับขนาดความแตกต่างของการทรุดตัว ในกรณีที่เป็นผนังวัสดุอื่น เช่น แผ่นไม้อัด ยิปซัมบอร์ด หรือ กระเบื้องกระดาษจะทำให้สังเกตเห็นรอยแตกร้าวในระยะแรก ได้ค่อนข้างลำบาก แต่เมื่อปัญหาการทรุดตัวมีความรุนแรงมากขึ้น ก็จะปรากฏรอยแตกร้าวขึ้นที่รอยต่อระหว่างหัวเสาและคาน
3. การเสริมฐานรากอาคาร
3.1หลักการการเสริมฐานราก (Underpinning)หมายถึงการปรับปรุงฐานรากเดิมเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยปลอดภัย ในการเสริมฐานรากโดยทั่วไปจะเป็นการเพิ่มความลึกหรือจำนวน ของเสาเข็มหรือการปรับปรุงคุณภาพดินใต้ฐานรากหรือการขยายขนาดของฐานรากโดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
- เพื่อแก้ไขความเสียหาย (Remedial underpinning) จากปัญหาการชำรุดของฐานราก
- เพื่อป้องกันความเสียหาย(Precautionary underpinning)จากการก่อสร้างอาคารข้างเคียงการดำเนินงานเสริมฐานรากอาคารต่าง ๆ จะประสบผลสำเร็จมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพของดินใต้ฐานรากและวิธีการเสริมฐานราก ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ทางด้านปฐพีศาสตร์ และความเข้าใจในพฤติกรรมการรับแรงต่าง ๆ หากการดำเนินงานสามารถแก้ไขปัญหาของอาคารได้ก็จะถือว่าประสบผล สำเร็จ
ข้อดีเสาเข็มแบบเจาะ
- สามารถลดการสั่นสะเทือน
- ใช้พื้นที่น้อยในการทำงาน
- รับน้ำหนักได้ดี
- เหมาะกับงานทุกชนิด
- ลดเวลาการก่อสร้าง
- ลดปัญหามลพิษ
ข้อเสียเสาเข็มแบบตอก
- เกิดแรงสั่นสะเทือน
- ใช้พื้นที่กว้าง
- เสียงดัง
- เกิดผลกระทบกับอาคารไกล้เคียง
- มีข้อกําจัดในบางอาคาร